กระดาษมักจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ถูกมองข้ามไป เสมอๆ ทั้งๆ ที่กระดาษเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์ บทความนี้ จะพาคุณไปรู้จัก และเลือกซื้อกระดาษ และน้ำหมึกให้เหมาะกับงานของคุณ

การเลือกกระดาษสำหรับเครื่องพิมพ์แต่ละแบบนั้น แน่นอนว่าไม่เหมือนกัน เนื่องจากว่ากระดาษที่นำมาใช้กับเครื่องอิงก์เจ็ตนั้น มีความหลากหลาย และมีรายละเอียดมาก เพราะว่าเครื่องอิงก์เจ็ตสามารถพิมพ์ได้หลายแบบ ตั้งแต่ตัวอักษรไปจนถึงการพิมพ์ภาพในระดับ Photo การเลือกซื้อกระดาษ เราต้องพิจารณาเป็นข้อๆ ดังนี้

ระดับความหนา-บางของกระดาษ

กระดาษแต่ละแบบนั้น จะมีระดับความหนา และบางไม่เท่ากันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน สำหรับกระดาษที่บางๆ จะมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างออกไปจากกระดาษที่มีความหนากว่า โดยทั่วไปแล้วในกระดาษที่มีความบาง จะไว้ใช้สำหรับพิมพ์เอกสารทั่วไป อย่างเช่นนำมาใช้ร่วมกับเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ในบางรุ่น มีต้นทุนที่ไม่แพงมากนัก ในขณะที่กระดาษที่มีความหนามากจะใช้ได้ดีกับเครื่องพรินเตอร์แบบอิงก์เจ็ต เนื่องจากว่ามีความหนา เมื่อโดนน้ำหมึกฉีดลงมาในปริมาณมาก หมึกจะไม่ซึมลงไป ในทางกลับกัน ถ้านำกระดาษที่มีความบางมาใช้ร่วมกับพรินเตอร์แบบอิงก์เจ็ต อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เนื่องจากว่ากระดาษที่บางนั้น จะอมน้ำ ทำให้หมึกซึมไปยังฝั่งตรงข้ามได้ รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจจะมีส่วนประกอบ และปัจจัยหลายอย่างประกอบกันด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไปเกี่ยวกับน้ำหนักของกระดาษ และชนิดของกระดาษที่ผลิตออกมารองรับการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

ความหนาเป็นเรื่องที่สำคัญพอตัวครับ ซึ่งความหนาส่วนใหญ่แล้วจะสัมพันธ์กับน้ำหนักของกระดาษด้วย บางท่านอาจจะคิดว่าความหนาของกระดาษ อาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก ในความจริงแล้วส่งผลอย่างมากต่อการพิมพ์ ยกตัวอย่างกระดาษที่มีความหนาไม่มาก การฟีดกระดาษเข้าสู่เครื่องพรินเตอร์ จะทำได้อย่างสะดวก และไม่มีปัญหาอะไรนัก ส่วนกระดาษที่มีความหนามากอาจทำให้เครื่องพรินเตอร์บางเครื่องมีปัญหาในการ ฟีดกระดาษเข้าเครื่องได้ลำบากกว่าเช่นกัน ซึ่งการเลือกใช้กระดาษให้ถูกต้องนั้น ควรที่จะเลือกหากระดาษที่ได้มาตรฐานด้วย อย่างน้อย ก็การันตีได้ในเรื่องของความหนา และน้ำหนักของกระดาษที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานร่วมกับเครื่องพรินเตอร์โดย เฉพาะ

น้ำหนักของกระดาษ

น้ำหนักกับความหนาของกระดาษออกจะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันอยู่ไม่น้อย ส่วนมากแล้วกระดาษที่มีน้ำหนักมาก มักจะมีความหนากว่ากระดาษที่มีน้ำหนักเบากว่า เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว น้ำหนักของกระดาษจะเป็นสิ่งแรกที่เราต้องดู และตัดสินใจก่อนซื้อ สำหรับน้ำหนักของกระดาษโดยทั่วไปแล้ว มักจะมีน้ำหนักเป็นปอนด์ หรือใช้หน่วยเป็นแกรมต่อตารางเมตรก็ได้ (g/m2) แต่โดยทั่วไปแล้ว เราจะเรียกเป็นแกรมมากกว่า โดยเฉพาะใครที่ซื้อกระดาษ Plain Paper บ่อยๆ ก็คงจะรู้จักกันดีนะครับ เพราะหน้ากล่องมักจะเขียนน้ำหนักไว้ว่า 70 หรือ 80 แกรม ทีนี้มาดูในส่วนของรายละเอียดกันบ้าง ขนาดของน้ำหนัก แน่นอนครับว่ากระดาษที่ผลิตออกมาเพื่อใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันจะมี น้ำหนักเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชนิดได้เหมือนกัน

โดยกระดาษสำหรับพิมพ์เอกสารแบบธรรมดาสามัญทั่วไป หรือที่รู้จักกันว่า Plain Paper จะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 70 ถึง 80 แกรม น้ำหนัก และความหนาก็จะมีไม่มาก เหมาะสำหรับมาใช้กับเครื่องเลเซอร์ หรือนำมาใช้พิมพ์เอกสารที่เน้นตัวอักษรเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่กระดาษสำหรับพิมพ์ภาพกราฟิก หรือ Photo Paper จะมีขนาดอยู่ในช่วงตั้งแต่ 90 ถึง 270 แกรม ขึ้นไป กระดาษที่มีน้ำหนักมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษที่มีความหนาตั้งแต่ปานกลางถึงหนามาก เพราะฉะนั้น ในการเลือกซื้อกระดาษแต่ละครั้ง ต้องพิจารณาดูกันให้ดีครับ อย่างเช่นกระดาษ Photo Paper เหมือนกัน ยังมีการแบ่งน้ำหนักและความหนาบางแยกออกไปอีกหลายรุ่น อยู่ที่ว่าจะเลือกไปใช้สำหรับพิมพ์กราฟิกทั่วไป เอกสารภาพสีที่การพิมพ์ในแบบนี้ อาจจะไม่ต้องการกระดาษที่มีน้ำหนักมากนัก ในขณะที่การพิมพ์ภาพ Photo อาจจะต้องอาศัยกระดาษที่มีน้ำหนักมากแ ละหนาเป็นพิเศษ

เนื้อกระดาษ และระดับความขาวของกระดาษ

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของกระดาษมากขึ้นนะครับ นอกจากเรื่องน้ำหนัก และความหนาบางของกระดาษแล้ว ยังมีอีกประการหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญด้วยก็คือ เรื่องระดับความสว่างของกระดาษนั่นเอง กระดาษขาวเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่จะเรียกกันไปครับ แต่เวลามาเปรียบเทียบกัน เราจะเห็นได้ชัดว่าอันไหนขาวเหลือง อันไหนขาวฟ้า หรืออาจจะเป็นสีงาช้าง ทั้งหมดนี้มันยากที่จะบ่งบอกว่า อะไรขาวกว่า ถ้าไม่เอามาเปรียบเทียบกัน ในกระดาษแต่ละแบบจะมีค่าของความสว่างที่เรียกว่า Brightness Rating กระดาษแต่ละรูปแบบ ตลอดจนแต่ละยี่ห้อนั้น จะมีความขาวที่ไม่เหมือนกัน ขาวมาก ขาวน้อย แน่นอนครับว่า ระดับของ Brightness นี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพงานที่ถูกพิมพ์ออกมาเช่นกัน ระดับของ Brightness อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารที่ใช้ในการเคลือบกระดาษแต่ละแบบ (ทั้งแบบด้าน และแบบมัน) เนื้อกระดาษก็เช่นกันครับ

ค่าของ Brightness rating นั้น จะใช้ค่าแทนได้ตั้งแต่ 1 จนถึง 100 ในกระดาษ Plain Paper หรือกระดาษซีร็อกซ์ทั่วไปจะมีค่า Brightness อยู่ที่ประมาณ 80 ในขณะที่กระดาษ Photo จะมีค่ายอยู่ที่ 90 ขึ้นไป แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ผลิตกระดาษส่วนใหญ่ไม่ได้บอกค่า Brightness rating ไว้ให้เราทราบทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากระดาษไหนขาวกว่าใคร แต่หากนำมาวางเปรียบเทียบกันแบบด้านต่อด้านจะพอช่วยให้เห็นความแตกต่างได้ มากครับ กระดาษที่มีความขาวมากๆจะช่วยให้การพิมพ์รูปภาพมีสีสันสมจริงยิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดก็คงเป็นเรื่องของเฉดสี ที่จะทำได้ดีกว่ากระดาษที่ไม่ขาวมากนัก เรื่องความขาวของกระดาษ จำเป็นมากก็ต่อเมื่อคุณนำไปใช้พิมพ์ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงมาก และไม่อยากให้สีผิดเพี้ยน แต่ถ้าคุณต้องการกระดาษไปพิมพ์เอกสารธรรมดาก็อาจจะไม่ต้องกังวลนักเกี่ยวกับ เรื่องนี้

ความมันของกระดาษ

ความมันของกระดาษนี้ จะเรียกเป็นภาษาพูดติดปาก ก็คงเป็นกระดาษมันหรือ Glossy Paper ไงล่ะครับ หลายคนอาจจะร้องอ๋อ ความมันของกระดาษนั้น จะว่าไปแล้ว แค่สังเกตดูก็รู้ได้ทันทีแล้ว แต่ในรายละเอียดของกระดาษมันนั้นจะมีรายละเอียดอยู่บ้าง ก็คือ Glossy Paper จะเป็นที่นิยมใช้งานสำหรับพิมพ์ภาพถ่าย หรือภาพกราฟิกโดยเฉพาะ สาเหตุที่ต้องใช้กระดาษมัน ก็เนื่องจากว่ากระดาษ Glossy Paper นั้น จะมีสารเคลือบอยู่บริเวณผิวหน้าของกระดาษเพื่อไว้สำหรับดูดซึมหมึกที่ถูกฉีด ลงมา กระดาษ Glossy Paper นี้ จะมีหลายระดับตั้งแต่ high gloss, gloss, soft gloss, และ semi-gloss เห็นแบบนี้ ก็มีความมันอยู่หลายระดับนะครับ คุณสมบัติที่ได้ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นสะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน บางแบบจะแห้งช้า พิมพ์ได้ที่ความละเอียดสูงๆ และกระดาษ Glossy บางแบบก็เป็นแบบ Quick-Dry เนื่องจากใช้สารเคลือบที่แตกต่างกัน ข้อดีของการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษ Glossy ก็คือ จะช่วยเร่งสีให้มีความสดใสยิ่งขึ้น สีติดทนนานยิงขึ้น และดูสมจริง นอกจากนี้ กระดาษ Glossy บางแบบจะเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไป อย่างเช่น กันน้ำได้ด้วย นับเป็นข้อได้เปรียบกระดาษธรรมดาที่ขายกันอยู่ทั่วไป กระดาษ Glossy ที่ดีไม่จำเป็นว่าจะต้องมีขนาดที่หนามากน้อยแค่ไหน การเลือกซื้อ ก็เลือกได้ตามสบายตามความต้องการของการใช้งานเป็นหลัก เรื่องราคานั้นก็แน่นอนครับ กระดาษ Glossy ส่วนใหญ่มักจะมีราคาที่แพงกว่ากระดาษแบบอื่นอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอ สมควร

ความด้านของกระดาษ

เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะแนะนำกันครับ กระดาษแบบด้านหรือ Matte Paper จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากกระดาษแบบมัน หรือ Glossy อยู่บ้าง ในส่วนแรกนี้ อาจจะต้องแบ่งออกเป็นสองกลุ่มครับสำหรับกระดาษด้านนี้ แบบแรก ก็คือ กระดาษแบบ Plain Paper ทั่วไปที่จะด้านแบบด้านสนิทจริงๆ กระดาษแบบ Plain Paper จะมีน้ำหนักไม่เกิน 100 แกรม ซึ่งกระดาษแบบนี้ จะไม่เหมาะสำหรับการนำไปพิมพ์ภาพกราฟิกหรือ Photo แต่จะมีกระดาษด้านอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อพิมพ์ภาพกราฟิกโดย เฉพาะ กระดาษ Matte Paper ที่ไว้สำหรับพิมพ์ Photo นี้ มีวิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือจะมีความหนา และน้ำหนักมากเป็นพิเศษ (หนากว่ากระดาษ Glossy Photo) ซึ่งกระดาษกลุ่มหลังนี้ จะทำมาเพื่อรองรับการพิมพ์ภาพกราฟิกคล้ายกับกระดาษ Glossy แต่ผลงานที่ได้นั้นจะแตกต่างอยู่พอสมควร โดยภาพที่พิมพ์บนกระดาษ Matte Paper จะให้ภาพที่มีโทนสีนุ่มกว่า และไม่สะท้อนแสง และที่สำคัญ ก็คือ สามารถพิมพ์ได้ทั้งสองด้าน ในขณะที่ Glossy Paper จะพิมพ์ได้เฉพาะด้านที่เคลือบสารไว้เท่านั้น กระดาษแบบ Matte paper ตอนนี้ จะมีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ อยู่ประมาณ 4 ยี่ห้อเท่านั้น ได้แก่ Kodak, Epson และ HP ครับ

แนะนำกระดาษชนิดต่างๆ

Plain Paper
กระดาษ Plain Paper นี้ จะเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์งานธรรมดาสามัญทั่วไป เนื้อกระดาษจะไม่หนามาก ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้มักจะมีขนาดตั้งแต่ 70 แกรม จนถึง 80 แกรม เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานร่วมกับเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ เนื่องจากเนื้อกระดาษที่บาง ทำให้เมื่อนำไปใช้ร่วมกับอิงก์เจ็ตแล้ว จะทำให้น้ำหมึกซึมลงไปอีกด้านได้ง่าย ในบางครั้ง อาจทำให้กระดาษชุ่มจนเปื่อยถ้านำไปพิมพ์งานแบบ Photo จุดเด่น ก็คือ จะมีราคาที่ถูกกว่ากระดาษ Photo และ Glossy

กระดาษแบบมัน หรือ Glossy Paper
กระดาษที่มีความมันนั้น จะเป็นกระดาษที่มีนำหนักตั้งแต่ 90 แกรม เป็นต้นไป อาจจะไม่ต้องหนามากนักก็ได้ ลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่จะครอบคลุมหลากหลายลักษณะการใช้งาน ตั้งแต่การพิฒ Photo จนไปถึงการพิมพ์เอกสารสีทั่วไป จุดเด่นอยู่ที่ความละเอียดและความสดของสีที่ถูกพิมพ์ลงไป สามารถรองรับการพิมพ์ได้ที่ความละเอียดสูงๆ ตั้งแต่ 1440 dpi จนไปถึง 2880 dpi ได้ โดยที่น้ำหมึกจะไม่ซึมลงไปในเนื้อกระดาษ แม้ว่าจะไม่หนามาก แต่กันน้ำได้ เรื่องราคานั้น จะมีหลากหลายตั้งแต่ถูกไปจนถึงแพง

กระดาษแบบด้าน Matte Finish Paper
กระดาษแบบด้านนี้ จะไว้สำหรับพิมพ์ภาพกราฟิกตลอดจน Photo เช่นกัน เนื่องจากว่าไม่มีสารที่นำมาเคลือบไว้ หรือเคลือบไว้บางมากทำให้เนื้อกระดาษมีความหนากว่ากระดาษ Glossy แบบปกติ สามารถพิมพ์ได้สองด้าน ในรุ่นใหม่ๆ ได้มีการพัฒนาคุณสมบัติให้คล้ายกระดาษ Glossy มากขึ้น อย่างเช่น คุณสมบัติกันน้ำ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงคุณสมบัติเด่นของกระดาษแบบด้านเอาไว้ ก็คือ จะไม่สะท้อนแสง และสีที่ถูกฉีดลงไปนั้นจะนวลกว่า

กระดาษโฟโต้ Photo Paper
กระดาษ Photo นี้ จะเป็นกระดาษที่ได้รับความนิยมในระยะหลังเนื่องจากว่าเครื่องพรินเตอร์รุ่น ใหม่ๆ สามารถทำความละเอียดในการพิมพ์ได้ละเอียดมากขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงได้พัฒนากระดาษ Photo นี้ ขึ้นมาให้มีคุณสมบัติเหนือกว่ากระดาษ Glossy ทั่วไป กระดาษ Photo นั้น จะมีน้ำหนักมากกว่า มีความหนากว่า สามารถพิมพ์ได้ด้านเดียว กันน้ำ รองรับการพิมพ์ความละเอียดตั้งแต่ 2880 dpi ขึ้นไป ขณะเดียวกันราคาจะแพงมากกว่า Glossy Paper ด้วยเช่นกัน

แผ่นใส
เป็นการพิมพ์ในอีกรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาเพื่อใช้กับงานพรีเซนเทชันโดย เฉพาะ กระดาษใสนี้ จะนำไปใช้กับการฉายสไลด์ เนื่องจากเป็นการพิมพ์เพื่องานเฉพาะด้าน ทำให้อาจจะไม่แพร่หลายนัก คุณสมบัติของแผ่นใสนี้ จะรองรับการพิมพ์กราฟิกได้ที่ความละเอียดไม่สูงนัก เมื่อพิมพ์แล้ว หมึกจะแห้งเร็ว แต่ก็มีราคาสูงพอควร

การเก็บรักษา

จากที่ผ่านมา ก็คงรู้จักกระดาษสำหรับเครื่องพรินเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันแล้วนะครับ ยังมีอีกเรื่องที่จำเป็นมากพอตัว ก็คือ การเก็บรักษากระดาษ อย่างที่ทราบกันว่า กระดาษแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน วิธีการเก็บแบบเบื้องต้น อันดับแรก นอกจากเรื่องความชื้นแล้ว ก็คงต้องเป็นเรื่องการเก็บให้พ้นจากแดด และเก็บไว้ให้มิดชิดที่สุด

โดยเฉพาะกระดาษ Plain Paper หรือกระดาษแบบด้านที่เมื่อเก็บไว้นานเกินไป อาจทำให้ความขาวของกระดาษลดลง ส่วนกระดาษ Glossy ก็เช่นกันครับ การเก็บไว้แบบไม่รักษา และทิ้งไว้ยาวนานเกินไป ปัญหาบ่อยๆ ที่เห็นได้ในกระดาษ Glossy ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ ก็คือ สารที่เคลือบไว้บนกระดาษนั้น จะเสื่อมทำให้เมื่อเครื่องพิมพ์ฉีดหมึกลงไปจะเกิดอาการร้อยแปด อย่างเช่น หยดหมึกมารวมตัวกันเป็นหย่อมๆ บางที่ หมึกอาจจะไม่ติดกับกระดาษ จนไปถึงหมึกแห้งช้ากว่าที่ควรจะเป็นด้วยครับ

ที่กล่าวมาก็เป็นส่วนหลักที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อกระดาษนอก จากขนาดของกระดาษ จะเห็นได้ชัดเลยนะครับ ว่ากระดาษสำหรับใช้กับเครื่องอิงก์เจ็ตนั้น มีคุณสมบัติที่หลากหลาย รองรับการใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่งานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก จนไปถึงงานที่ต้องเนี้ยบเป็นพิเศษ เชื่อว่าคงจะทำให้ใครหลายๆ คนรู้จักที่จะเลือกกระดาษให้เหมาะกับประเภทของงานได้เหมาะสมมากขึ้นนะครับ